แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี) เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจากับ Facebook (เฟซบุ๊ก) ว่า ช่วงเย็นของวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊ก ได้ติดต่อกลับมาภายหลังทางสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(สมาคมไอเอสพี) ภายหลังก่อนหน้านี้ทางสมาคมไอเอส ขอความร่วมมือให้เฟซบุ๊กดำเนินการปิด URL ที่เข้าข่ายเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ตามคำสั่งศาล จำนวน 600 URL โดยล่าสุดทางเฟซบุ๊ก ได้ชี้แจงมายังไอเอสพี และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ระบุว่าพร้อมดำเนินการระงับการเผยแพร่เว็บบุคคลและเว็บเพจที่เข้าข่ายผิดกฎหมายตามคำสั่งศาลไทยทั้ง 600 URL ซึ่งหลังจากนี้จะทยอยดำเนินการโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เฟซบุ๊ก ยอมดำเนินการ เนื่องจากทางไอเอสพี ได้แจ้งไปว่าหากทางเฟซบุ๊ก ไม่ร่วมมือ ทางไอเอส อาจจำเป็นต้องปิดระบบ CDN( ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของเครื่องเซิฟเวอร์) ซึ่งเป็นเสมือนถึงเก็บข้อมูลของ Facebook ในประเทศไทย เพราะหากระบบดังกล่าวปิดลง จะทำให้การเรียกใช้งานข้อมูลของเฟซบุ๊ก แต่ละครั้ง ระบบต้องเรียกข้อมูลวิ่งไปกลับผ่านเกตเวย์ต่างประเทศ รวมถึงจะใช้ปริมาณของช่องทางการสื่อสาร(แบนวิธ) มากกว่า 5 เท่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเฟซบุ๊ก คือ ผู้ใช้งานจะรู้สึกว่าความเร็วในการใช้งานลดลงอย่างมาก ไปจนถึงปัญหาการธุรกิจต่างๆ และการโฆษณาก็จะตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เฟซบุ๊ก ยังรู้ว่ามาตรการสุดท้ายหากไม่ปฏิบัติตามก็คือการสั่งปิดการใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศไทย
นายจัตุรงค์ จันทะโน นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ไทย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการค้าออนไลน์มากกว่า 10 รายได้รวมตัวกันตั้ง “สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ไทย” ขึ้นมา จดทะเบียนการค้ากับทางกระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล
บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้: