Kaspersky Lab ชี้ความเชื่อมโยงสองมหันตภัย WannaCry กับกลุ่ม Lazarus ตัวร้าย
20 ส.ค. 60 ฝากร้าน 1741

เทรนด์ไมโครเตรียมพร้อม ป้องกัน และกู้คืนข้อมูลจาก Ransomware ให้คุณ

เทรนด์ไมโครเตรียมพร้อม ป้องกัน และกู้คืนข้อมูลจาก Ransomware ให้คุณ

บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้:

  • การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยครอบคลุม 4 เลเยอร์ของระบบรักษาความปลอดภัย และรองรับการตรวจหามัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั่วทั้งองค์กร

นางสาวปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เทรนด์ไมโครกำลังดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อประเมินภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่และหาวิธีป้องกัน เราเข้าใจว่าการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบนี้สามารถบ่อนทำลายองค์กรทุกขนาดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และอาจก่อให้เกิดปัญหาและค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เทรนด์ไมโครจึงได้ปรับแต่งผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนำเสนอการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  เครื่องมือกู้คืนข้อมูลจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ของเรานำความเชี่ยวชาญของเทรนด์ไมโครในส่วนที่เกี่ยวกับภัยคุกคามมาใช้ เพื่อให้บริการสนับสนุนและช่วยให้ลูกค้าเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น หรือแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีในกรณีที่ถูกโจมตีแล้ว”

การป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ให้กับองค์กร

ไม่มีทางลัดใดๆ ในเรื่องของการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ วิธีที่ถูกต้องก็คือ การปรับใช้แนวทางที่ครอบคลุมรอบด้าน และเทรนด์ไมโครได้นำเสนอการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ครอบคลุม 4 เลเยอร์สำคัญในระบบรักษาความปลอดภัย:

  • อีเมล์: เทรนด์ไมโครนำเสนอการตรวจสอบในระดับที่ลึกกว่าอีเมล์เกตเวย์ทั่วไป ทั้งสำหรับอีเมล์ภายในองค์กรและอีเมล์บนระบบคลาวด์ เช่น Microsoft Office 365 โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับและปิดกั้นอีเมล์ฟิชชิ่งและไฟล์แนบหรือ URL ที่มีมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งเป็นช่องทางทั่วไปที่พบเห็นได้มากที่สุดในการส่งมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่องค์กร
  • อุปกรณ์ลูกข่าย: เทรนด์ไมโครนำเสนอความสามารถที่หลากหลายเพื่อปกป้องอุปกรณ์ลูกข่ายรุ่นใหม่ๆ โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับและปิดกั้นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ รวมทั้งคุ้มครองช่องโหว่ที่ยังไม่ได้แก้ไข การควบคุมแอพพลิเคชั่นและการตรวจสอบลักษณะการทำงาน เพื่อตรวจหากิจกรรมที่น่าสงสัย เช่นการเข้ารหัสไฟล์จำนวนมาก โดยจะสามารถยับยั้งการเข้ารหัสที่กำลังดำเนินการอยู่และแยกอุปกรณ์ลูกข่ายที่ติดไวรัสแล้ว
  • ระบบเครือข่าย: เทรนด์ไมโครตรวจสอบระบบเครือข่ายองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยความสามารถขั้นสูงในการตรวจจับและการกรองด้วยแซนด์บ็อกซ์ (Sandboxing) โดยครอบคลุมแทรฟฟิก พอร์ต และโปรโตคอลทั้งหมด เพื่อหยุดยั้งไม่ให้มัลแวร์เรียกค่าไถ่แทรกซึม และแพร่กระจายบนเครือข่าย
  • เซิร์ฟเวอร์: เทรนด์ไมโครปกป้องเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นในระบบมาตรฐานทั่วไป แบบเวอร์ชวล หรือในระบบคลาวด์ โดยทำการตรวจจับและป้องกันกิจกรรมที่น่าสงสัย ปกป้องช่องโหว่เพื่อไม่ให้มัลแวร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในซอฟต์แวร์บนเซิร์ฟเวอร์ และตรวจจับการสแกนเครือข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์เรียกค่าไถ่แพร่กระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นๆ

นายจอห์น ดิกสัน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานไอทีของ RNDC กล่าวว่า “ปัจจุบัน เทรนด์ไมโครเป็นผู้นำด้านระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยการยกระดับเทคโนโลยี นำเสนอโซลูชั่นที่แข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับมัลแวร์เรียกค่าไถ่  การนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรให้แก่ลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไปที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ รวมถึงการอัพเกรดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ซึ่งจะช่วยปกป้องลูกค้าในยุคดิจิทัลอย่างได้ผล”

เทรนด์ไมโครช่วยให้สามารถตรวจสอบผลกระทบที่องค์กรได้รับจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้อย่างทั่วถึง โดยทำการระบุมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ส่งผ่านอีเมล URL ที่เป็นอันตราย การแทรกซึมเข้าสู่เครือข่าย หรือการเจาะระบบเซิร์ฟเวอร์  วิธีนี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบติดตามแนวโน้มของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ในระยะยาว เพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร

นายดั๊ก คาฮิล นักวิเคราะห์อาวุโสฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของ ESG กล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับใช้แนวทางแบบหลายเลเยอร์สำหรับการรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรมีความสำคัญมากขึ้น เทรนด์ไมโครนำเสนอชุดระบบควบคุมความปลอดภัยแบบครบวงจร เพื่อปกป้ององค์กรให้ปลอดภัยจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยรองรับการตรวจสอบอย่างทั่วถึงเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ รวมถึงแนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบรักษาความปลอดภัย เทรนด์ไมโครมีความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ ในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางนี้”

ลูกค้าที่ใช้ Trend Micro? Security 10 ได้รับการปกป้องให้รอดพ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่  หากผู้ใช้สงสัยว่าอาจมีมัลแวร์เรียกค่าไถ่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากเทรนด์ไมโครได้

ไม่พลาดข่าวสดใหม่ กดไลค์เพจแบไต๋เลย

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตร.เข้าค้นคลินิคทำแท้งเถื่อน ลักลอบขายยาออนไลน์ สารภาพมีลูกค้าเดือนละ 50 ราย ขายเพียงเม็ดละ 1200 บาท


18 ต.ค. 60  อนาจาร

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 3 พฤษภาคม พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4บก.ปคบ., พ.ต.ท.จตุรงค์ ผลเกิด รอง ผกก.4 บก.ปคบ. , พ.ต.ต.สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ สว.กก.4 บก.ปคบ.พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ.นำกำลังเข้าทำการตรวจค้นภ

เฟซบุ๊ก เหลือเว็บผิดกฎหมายออกไม่ได้อีก 131 เว็บ กสทช.จี้ต้องหมดใน 5 วัน


18 ต.ค. 60  เวปผิดกฎหมาย/เวปปลอม

ที่สำนักงาน กสทช. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย (สมาคมไอเอสพี) และผู้ให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ (ไอไอจี

ทหาร-ปกครองปทุมธานี บุกทลายโต๊ะบอลออนไลน์ย่านคลองแปด


18 ต.ค. 60  พนันออนไลน์

วันที่ 29 เมษายน 2560 เมื่อเวลา 01.30 น.เจ้าหน้าที่กองร้อยรักษาความสงบ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 12 รักษาพระองค์ ดูแลพื้นที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี นำโดย ร.ต.นิมิตร จันทร์ชาญ ผบ.มว.ป.พัน.12 ผบ.หมวด กองร้อยรักษาความสงบ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่ง ร่

กสท. เตรียมคุมคอนเทนท์ออนไลน์ Facebook Live และ YouTube จ่อเข้าข่าย OTT


25 เม.ย. 60  Social Media

ที่ประชุมกสทช. เมื่อวานนี้ มีมติให้บริการ OTT หรือ Over the Top เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลของกสท. โดยให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ควบคุม และดูแลคอนเทนท์ออนไลน์ แต่ยังไม่สรุปว่า Facebook Live, YouTube และอื่นๆ จะเข้าข่าย OTT หรือไม่