วัสถุประสงค์

Cybersecurity Awareness Learning Center
 ศูนย์การเรียนรู้เสมือนให้กับประชาชนทั่วไปในการตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้งานบนโลกไซเบอร์

ความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในโลกยุคดิจิทัลเห็นได้จากการเติบโตของตลาดเทคโนโลยีการสื่อสารการใช้โทรศัพท์มือถือของประชากรไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ พ.ศ. 2552  ค่ายผู้ให้บริการหลักโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันได้สรุปยอดผู้ใช้งานมือถือประเทศไทยปี 2558 ทั้งหมดมากถึง 91.9 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรในประเทศ   ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากมาย เช่น การรับส่งอีเมล์ การถ่ายภาพและเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค การโพสต์ข้อความติชมให้กับเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ การอ่านข่าวและโพสต์ความเห็นในเว็บไซต์ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมธนาคาร เป็นต้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในชีวิตประจำวันซึ่งให้ความสะดวกสบาย ความเพลิดเพลิน และยังเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ แต่ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายและความเสี่ยง รู้วิธีการป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้วิธีการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดขึ้น

การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเรื่องเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดทั้งกับชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ปกครองในการดูแลและสอนบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันภัยอันตราย   จากที่กล่าวมาและด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสทช)จึงจัดทำสร้างศูนย์การเรียนรู้เสมือนให้กับประชาชนทั่วไปในการตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้งานบนโลกไซเบอร์ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้เสมือนนี้ประกอบด้วย

  • 1. เผยแพร่สื่อความรู้ที่เข้าใจง่ายให้กับประชาชนผ่านสังคมออนไลน์
  • 2. ระบบสืบค้นข่าวอาชญากรรมทางไซเบอร์ และรวบรวมข่าวอาชญากรรมทางไซเบอร์และข่าวที่เกี่ยวกับให้ประชาชนได้ตระหนักรู้และระวังภัยที่ผ่านมาล่าสุด 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันและจัดการกับภัยคุกคามเหล่านั้น ออกแบบและพัฒนา
  • 3. ระบบฝึกอบรมเชิงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมทางไซเบอร์
  • 4. เกมซึ่งสร้างความเพลิดเพลินพร้อมกับสอนความรู้ในเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใกล้ตัวสำหรับเด็กและเยาวชน

เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในโลกไซเบอร์ การเรียนรู้อาจเกิดในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม รูปแบบของเกมทาให้ผู้เรียนเรียนไปด้วยและก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทาให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

โครงการนี้ได้พัฒนาเกมออนไลน์ เกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อสอดแทรกเนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในโลกไซเบอร์ การเรียนรู้อาจเกิดในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม รูปแบบของเกมทำให้ผู้เรียนเรียนไปด้วยและก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เกมที่พัฒนาขึ้นในโครงการนี้ได้เน้นไปที่เด็กและเยาวชน โดยที่เนื้อหาใน Phase 1 ประกอบด้วย

  • 1) Labtop security โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนสามารถดูแลลักษณะและการใช้งานโน้ตบุ๊คให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพราะปัจจุบันโน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์การศึกษาที่สำคัญที่นักเรียนเกือบทุกคนจำเป็นต้องมีเป็นของส่วนตัว การให้ความรู้เรื่อง Labtop security จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นเจ้าของโน้ตบุ๊ค
  • 2) Social network โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามทางโซเชียล และรู้ถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติในโซเชียลเพื่อป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในปัจจุบันได้พบเหตุว่ามีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี และมิจฉาชีพได้ใช้สื่อ Social Network เป็นเครื่องมือในการล่อลวงผู้อื่น โดยเป้าหมายหรือเหยื่อมักเป็นเด็กหรือเยาวชน
  • 3) Cyber Defender โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนรู้จักไวรัสและมัลแวร์ พร้อมวิธีการป้องกันภัยเมื่อเจอไวรัสและมัลแวร์ เนื่องจากไวรัสและมัลแวร์เป็นเรื่องใกล้ตัวของเด็กและเยาวชนที่ควรเรียนรู้
  • 4) Malware โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนรู้จักมัลแวร์ ประเภทของมัลแวร์ ภัยอันตรายของแต่ละประเภท การป้องกันให้ปลอดภัยจากมัลแวร์ ช่องโหว่ที่เปิดให้มัลแวร์เข้ามาได้
  • 5) Internet Security โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนตระหนักรู้ถึงภัยใกล้ตัวขณะที่เล่นอินเทอร์เน็ต