นักธุรกิจออนไลน์สาว โร่แจ้งจับ”ผู้ช่วยผจก.แบงก์” ปลอมลายเซ็นทำประกันชีวิต
18 ต.ค. 60 ต้มตุ๋น/ หลอกลวง 2100

น.ส.กานดา สายทุ้ม อายุ 36 ปี อาชีพทำธุรกิจออนไลน์ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่ง หลังปลอมลายเซ็นทำประกันชีวิต

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 มกราคม น.ส.กานดา สายทุ้ม อายุ 36 ปี อาชีพทำธุรกิจออนไลน์ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.พิทักษ์ สุทธิกุล ผกก.สน.ชนะสงคราม เพื่อติดตามความคืบหน้า หลังทางเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนึ่งย่านบางลำพู ปลองแปลงลายมือชื่อเพื่อทำกรมธรรม์ประกันชีวิต หลังจากเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา น.ส.กานดา เดินทางเข้าพบ ร.ต.ท.เดชฤทธิ์ ชอบเรียบร้อย รอง สว.(สอบสวน) สน.ชนะสงคราม เพื่อแจ้งความผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่ง หลังจากเมื่อปี 2557 น.ส.กานดา ได้รับโทรศัพท์จากธนาคารชักชวนให้ทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชื่อดัง แต่น.ส.กานดาได้ปฏิเสธไม่ทำประกัน กระทั่งวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา น.ส.กานดา รับใบแจ้งหนี้จากบริษัทประกัน ทวงหนี้ประกันชีวิตที่ค้างชำระปีที่3 งวดที่3 เลยกำหนดชำระ จึงทราบว่าเกิดการปลอมแปลงลายเซ็นขึ้น จึงเดินทางเข้าร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

น.ส.กานดา เปิดเผยว่า ตนได้ปฏิเสธการทำประกันชีวิตกับทางธนาคารไปเรียบร้อยแล้ว และเป็นความสะเพร่าที่ไม่ตรวจสอบสลิปบัตรเครดิตให้ละเอียด ในช่วง 2 ปีแรก คือปี 2557 และปี 2558 ถูกหักเงินค่าประกันชีวิตจำนวน 63,950 บาท รวมเป็นเงิน 127,900 บาท กระทั่งบัตรเครดิตหมดอายุ และพี่สาวไปทำธุระที่ธนาคาร ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจึงมอบใบแจ้งหนี้มาให้ ทำให้ทราบว่าเกิดการปลอมลายเซ็น จึงเดินทางไปสอบถามที่ธนาคาร ทางพนักงานธนาคารยอมรับว่าได้ปลอมลายเซ็นจริง และจากการตรวจสอบลายเซ็นพบว่าไม่ตรงกัน ก่อนที่พนักงานธนาคารคนดังกล่าวจะนำเงินที่คาดว่าเป็นเงินส่วนตัวมาคืนครบตามจำนวนที่จ่ายไป 2 งวดแรก แต่ไม่ได้เป็นการทำตามขั้นตอนของระบบธนาคาร จึงได้เดินทางมาแจ้งความดำเนินคดี

“จนถึงตอนนี้ยังไม่เคยเห็นกรมธรรม์ที่ทำประกันชีวิต เนื่องจากตลอด2ปีที่ผ่านมา ใบแจ้งกรมธรรม์จะถูกส่งไปยังธนาคาร ส่วนผู้ช่วยผู้จัดการคนดังกล่าวรู้จักมานานหลายสิบปี แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด” น.ส.กานดา กล่าว

พ.ต.อ.พิทักษ์ เปิดเผยว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ยอมความไม่ได้ ทันทีที่ทราบเรื่องได้ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก พนักงานคนดังกล่าวเข้ามาให้ปากคำ โดยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เรียกสอบพยานแวดล้อม พร้อมทั้งนำพยานหลักฐานที่ น.ส.กานดา มอบให้มาตรวจสอบเพิ่มเติม หากมีความผิดจริงจะดำเนินการแจ้งข้อหาทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสาร หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตามคดีนี้ถือว่าเป็นคดีสำคัญ และอยากให้เป็นอุทาหรณ์สำหรับประชาชนทั่วไปให้ตรวจสอบ การทำธุรกรรม หรือกรมธรรม์กับทางธนาคารให้ละเอียด และควรติดตามตรวจสอบยอดเงินในบัญชีให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันบุคคลฉวยโอกาส และป้องกันการสูญเสียเงินโดยที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

โจรสุดแสบ แอบตามที่อยู่ผู้เสียหายจากการแชร์ Location ใน Instagram เพื่อขโมยชุดชั้นใน!!


11 ธ.ค. 58  Cyber Crime

หลายครั้งที่เรามักจะอยาก แชร์ Loaction หรือ เช็คอินสถานที่ ที่เรากำลังอยู่ ณ ตอนนั้น ลงในโลกโซเชียล เพื่ออยากให้ใครต่อใครได้รับรู้ว่าเรามาถึงที่นี่แล้วนะ เราอยู่ที่นี่แล้วนะ และนั่นก็เป็นช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดีใช้เป็นเครื่องมือในการทำสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างง่ายๆเลย

บริษัทไทยฟ้อง Jack Ma และ Alibaba ฐานละเมิดสิทธิบัตรลูกบอลดับเพลิง


05 เม.ย. 60  โฆษณา

แฟนๆ เว็บแบไต๋หลายคนอาจจะรู้จักเจ้าลูกบอลดับเพลิง Elide Fire Extinguishing Ball ที่แค่โยนเข้ากองเพลิงก็จะระเบิดออก และดับไฟในบริเวณนั้นได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้รับสิทธิบัตรทั้งในไทย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตลูกบอลดับเพลิงกำลังฟ้องร้องอาลีบาบา และแจ็ค หม่า ในประเด็นละเมิดสิทธิบัตรและจำหน่ายลูกบอลดับเพลิงปลอมครับ

ราชกิจจานุเบกษากำหนด แนวปฎิบัติงานด้านสุขภาพกับสื่อสังคมออนไลน์


18 ต.ค. 60  สุขภาพ

ภาพกราฟิกลิขสิทธิ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  24 มีนาคม 2560  เว็บไชต์ราชกิจนุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559  ตามที่มาตรา 7แห่งพระราช

Kaspersky Lab ชี้ความเชื่อมโยงสองมหันตภัย WannaCry กับกลุ่ม Lazarus ตัวร้าย


16 พ.ค. 60  ฝากร้าน

บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้: