ที่มา | หนังสือพิมพ์มติชน หน้า18 |
---|---|
เผยแพร่ |
นางนภา เศรษฐกร รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานเวทีสิทธิเด็ก ครั้งที่ 27 ภายใต้หัวข้อ “Be Smart &Safe Online: ก้าวทันสื่อ รู้ทันสิทธิ…ออนไลน์” ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กระบวนการทำงานมีความซับซ้อนและยากต่อการควบคุม ทั้งนี้ พม.มองการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 2 มิติ คือ 1.มิติตัวเด็ก ต้องพัฒนาและเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการวิเคราะห์ และประเมินสื่อจากอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีได้ 2.มิติสภาพแวดล้อม การมีกฎหมายส่งเสริมสื่อดี และปราบปรามสื่ออันตราย รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง มีระบบการคุ้มครอง การช่วยเหลือ และการเยียวยาเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิ ระบบช่วยเหลือผู้กระทำความผิด มีช่องทางการเข้าถึงสิทธิและการร้องเรียน รวมถึงช่องทางที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน
หลายครั้งที่เราได้ยินเรื่องราวของ “ภัยจากโลกออนไลน์” เช่น การขโมยหรือล่อลวงเงินในบัญชีผ่านการสนทนาทาง Facebook (เฟซบุ๊ก) หรือ การแฮกเข้าบัญชีส่วนตัว Facebook (เฟซบุ๊ก) แล้วสวมรอยเป็นเราทำทีเป็นขอยืมเงินเพื่อนหรือคนใกล้ชิดของเราให้โอนเงินไปยังบัญชีปลายทางของคนร้าย ซึ่งก็มีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย และเหล่ามิจฉาชีพพวกนี้ก็ยังคงออกอาละวาด สร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของทรัพย์สินและผู้ที่ถูกสวมรอยเป็นอย่างมาก โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดีได้ (เฮ้อ!!)
น.ส.กานดา สายทุ้ม อายุ 36 ปี อาชีพทำธุรกิจออนไลน์ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่ง หลังปลอมลายเซ็นทำประกันชีวิต เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 มกราคม น.ส.กานดา สายทุ้ม อายุ 36 ปี อาชีพทำธุรกิจออนไลน์ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.พิท
19 พฤษภาคม 2559 – ไฟร์อาย อินคอร์เปอเรชั่น (NASDAQ : FEYE) ผู้นำด้านการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ขั้นสูงในปัจจุบันเผยถึงผลสำรวจว่า กว่า 43% ขององค์กรในประเทศไทยตกเป็นเป้าของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 ซึ่งอัตราดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่สูงเกือบ 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 15%)
ธนาคารกรุงศรีนับเป็นธนาคารแรกของไทยที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้พัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (ภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox) โดยกรุงศรีนับเป็นธนาคารแรกของไทยที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain ‘s Interledger มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรวดเร็วในการโอนเงินข้ามประเทศแบบ Real Time สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม