ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 เว็บไชต์ราชกิจนุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามที่มาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ข้อมูลด้าน สุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหาย ไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติ ให้ต้องเปิดเผย
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้เล็งเห็นความสําคัญในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของ ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันมีการนําสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องการทํางานและเรื่องการดําเนินชีวิต หากมีการใช้ไม่เหมาะสมอาจทําให้เกิดปัญหาในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการสาธารณสุข จึงได้กําหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพขึ้น เพื่อนําไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน ด้านสุขภาพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กว้างขวางมากขึ้น
โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงประกาศแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามท้ายประกาศนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ลงนามโดย พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับแนวทางปฏิบัติฉบับนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาล และองค์กรต่างๆรวมไปถึงการสาธารณสุขชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรนำไปใช้ควบคุมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสุขภาพโดยตรง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในความดูแลของตนเพื่อให้ใช้สื่อออนไลน์ทั้งในการทำงานและเรื่องส่วนตัว เนื่องจากการใช้งานในเรื่องส่วนตัวต้องคำนึงถึงวิชาชีพด้วย และการเผยแพร่สิ่งต่างๆผ่านสื่อออนไลน์นอกเวลางานต้องมีสติ คํานึงถึงความเหมาะสม และต้องตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม ป้องการการเข้าถึงจากคนบุคคลภายนอกหรืออาจพิจารณาแยกบัญชีผู้ใช้งานส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน เพราะการเผยแพร่ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในวิชาชีพด้วย
พร้อมทั้งต้องมีการศึกษากฎหมาย วินัย จริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ป่วยหรือระบบสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ เห็นเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพต้องมีการติดตามสภาพสังคม ทั้งทัศนคติและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้แนวทางฉบับดังกล่าวมีการปรับปรุงเป็นระยะๆเนื่องจาก ทัศนคติทางสังคมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการปรับแนวปฏิบัติเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียต่อผู้ป่วยทั้ง ร่างกาย สุขภาพ หรือทรัพย์สินโดยแฉพาะกรณีที่เป็นอันตราย หากเจ้าหน้าที่พบเห็นผู้กระทำการที่เข้าข่ายดังกล่าวควรแจ้งให้หยุดกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องและความมีจริยธรรมของวิชาชีพ ฯลฯ
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ร.ต.อ.สุจิต ศิริราช รองสว.สส.สน.ฉลองกรุง พร้อมด้วยจ.ส.อ.ชูชัย ปราบมนตรี หัวหน้าชุดร้อย.รส.ม.พัน.2พล.ร.2รอ. ร่วมกันนำกำลังตรวจค้นห้องเช่าเลขที่ 169/2 169/3 อยู่ภายในตลาดฉลองกรุง 39 ถ.ฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบั
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 27 เมษายน ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบช.ก. เรียกประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความคืบหน้าคดีที่ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ต้องหาฉ้อโกงประชาชน ห
ถ้าคุณยังคงใช้บริการระบบปฏิบัติการนี้มากว่า 12 ปี ข้อบกพร่องทางระบบรักษาความปลอดภัยล่าสุดที่ถูกค้นพบบนการใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer จะทำให้คุณตกตะลึงกับความน่ากลัว
เกม ถือว่าเป็นอีก 1 ความบันเทิงที่เรียกได้ว่าเป็นข้อกังขาในบ้านเราว่า มันดีจริงหรือไม่? เล่นแล้วจะทำให้ติดจนไม่เป็นอันทำอะไร หรือว่าจริง ๆ แล้วเกมนั้นเป็นสิ่งที่ดี ช่วยสร้างสรรค์จินตนาการให้เด็ก หรือสามารถพาคุณไปสู่โลกแห่งกีฬายุคใหม่ที่ชื่อ E-sport กันแน่ มาร่วมค้นหาความจริงไปพร้อมกันกับ หนุ่ย พงศ์สุข กับแบไต๋ไลฟ์ สดทันทีที่มีเรื่อง