ผลวิจัย Path to Purchase เผยคนไทย 9 ใน 10 ตัดสินใจเลือกแบรนด์ล่วงหน้าก่อนไปซื้อที่ร้าน
18 ต.ค. 60 ช้อปปิ้งออนไลน์ 2391

ผลวิจัย Path to Purchase เผยคนไทย 9 ใน 10 ตัดสินใจเลือกแบรนด์ล่วงหน้าก่อนไปซื้อที่ร้าน

ผลวิจัย Path to Purchase เผยคนไทย 9 ใน 10 ตัดสินใจเลือกแบรนด์ล่วงหน้าก่อนไปซื้อที่ร้าน

“Think Telco” Google ได้นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคไทยในยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ นำเสนอเรื่องราวในหลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เฉพาะในปี 2559 มีโทรศัพท์มือถือถูกจำหน่ายออกไปกว่า 14.8 ล้านเครื่อง1  แต่คนไทยมีวิธีการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือและแพ็คเกจการใช้งานอย่างไรบ้าง?

ผลการวิจัยครั้งใหม่ในหัวข้อ “Path to Purchase” โดยความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ซับซ้อนของผู้บริโภคก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยได้สัมภาษณ์ผู้ซื้อสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งผู้ที่ซื้อแพ็คเกจโทรศัพท์มือถือในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 500 ราย

ผลการวิจัยที่ค้นพบมีดังนี้ :

  • ผู้บริโภคไทยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยช่องทางการค้นหาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ผู้บริโภคเข้ามาที่ร้านมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะซื้อ ซึ่งเกือบ 9 ใน 10 (89%) ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือเปิดเผยว่าพวกเขาได้เลือกแบรนด์ก่อนที่จะไปซื้อสินค้าที่ร้านเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้บริโภคไทยเปิดใจรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ในขณะที่ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาสนใจ 64% ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือเปิดเผยว่าพวกเขาค้นพบ
    แบรนด์ใหม่ๆ ในระหว่างที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักการตลาดที่ต้องการสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค
  • สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก กว่า 9 ใน 10 ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือ (93%) เปิดเผยว่าพวกเขาศึกษาหาข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพวกเขามากที่สุด
  • เสิร์ชเอนจินเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบค้นหาข้อมูล คนไทยมักเข้าไปหาข้อมูลออนไลน์จาก 2 แหล่งหลักๆ ได้แก่ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแบรนด์ต่างๆ และเสิร์ชเอนจิน โดยเสิร์ชเอนจินทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต
  • วิดีโอมีบทบาทในการเลือกแบรนด์ด้วยเช่นกัน ผู้บริโภคมักดูวิดีโอออนไลน์เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและเสริมสร้างการตัดสินใจของตน

ประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อนักการตลาด :

นับวันโลกของเราก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแหล่งข้อมูลให้เลือกมากมาย แต่การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักการตลาดสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับความต้องการของพวกเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี การวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็น ในอดีตนักการตลาดต้องพึ่งพาแหล่งข้อมูลทางอ้อมเพียงอย่างเดียว อาทิ ข้อมูลประชากร เช่น อายุและเพศ ในขณะที่ข้อมูลประชากรยังคงมีความสำคัญในการวางแผนการตลาด แต่เจตนาของผู้บริโภคหรือสิ่งที่ผู้คนต้องการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญที่นักการตลาดต้องตอบสนองให้ได้

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

นายกฯติงสื่อ เสนอข่าวดีๆ บ้าง แนะเลิกเสพข่าว ‘เน็ตไอดอลบ้าบอคอแตก'


18 ต.ค. 60  เน็ตไอดอล

นายกฯ ติงสื่อเสนอแต่ข่าวเสียหาย บอกสังคมแย่พอแล้ว ขอพื้นที่ข่าวดีๆ บ้าง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวกับเกษตรกรชาวสวนของจังหวัดจันทบุรีที่นำผลไม้มาประชาสัมพันธ์งานมหานครผลไม้ 201

“ศรีวราห์”ซัดพงส.บ้านแหลมทำคดี”น้องป.ปลา เน็ตไอดอล”ผิดขั้นตอน เร่งสอบ14ปมครอบครัวคาใจ


18 ต.ค. 60  เน็ตไอดอล

พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.(แฟ้มภาพ) เมื่อเวลา 12.30น.วันที่ 28มีนาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการ บ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นำครอบครัว น.ส.หทัยชนก กลิ่นทอง หรือน้อ

เปิดตัว OPPA เมื่อเว็บไทยรวมตัวสู้ศึกโฆษณาออนไลน์ต่างชาติ


18 พ.ค. 60  โฆษณา

15 เว็บไทยชั้นนำ ร่วมกันก่อตั้ง OPPA (Online Premium Publisher Association) หรือสมาคมการค้าสื่อออนไลน์คุณภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานโฆษณาออนไลน์ให้ตรงกัน ตรงใจผู้ซื้อโฆษณามากขึ้น และลดการรั่วไหลของเงินตราไปยังบริษัทต่างชาติ

Trend Micro  คาด “ปีนี้” ภัยคุกคามโลกออนไลน์เดือดกว่าปีก่อนหลายเท่า


12 ม.ค. 60  ภัยคุกคามออนไลน์

เทรนด์ไมโคร อินคอร์ปอเรทเต็ด ผู้นำด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เปิดเผยรายงานคาดการณ์ประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในชื่อ “The Next Tier – 8 Security Predictions for 2017” ซึ่งคาดการณ์ว่าปี 2560 จะเกิดการโจมตีเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น โดยนักโจมตีที่มุ่งร้ายจะใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างหลากหลายเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง