ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์
18 ต.ค. 60 Cyber Crime 1059

ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์

ไมโครซอฟท์ ตอกย้ำพันธสัญญา การสร้างความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยี

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์

การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ที่จัดขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ประเทศไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งงานเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นควบคู่กับงานประชุมที่ยิ่งใหญ่ประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2015 (Cyber Defense Initiative Conference 2015) ที่จัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2558

Photo

(จากซ้ายไปขวา) มร. คีชาว์ฟ ดาห์คาด นักกฎหมายอาวุโสและผู้อำนวยการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยอาชญากรรมดิจิทัล, มร. ปิแอร์ โนแอล เจ้าหน้าที่บริหารและที่ปรึกษาฝ่ายรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ ไมโครซอฟท์ เอเชีย และ คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience

จากการสำรวจโดย หน่วยอาชญากรรมดิจิทัลของไมโครซอฟท์ (Microsoft Digital Crimes Unit-DCU) มีการประเมินว่าในทวีปเอเชียนั้น มีมากกว่า 5 ล้านไอพีแอดเดรส ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีซอฟท์แวร์ที่ไม่น่าปลอดภัยจำนวนหลายล้านเครื่อง และประเทศไทยเองก็ติดอยู่ในระดับท็อป 25 ของประเทศที่มีอัตราเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงที่สุดในโลก จากผลการศึกษาและสถิติจากหน่วยงานภายนอกล่าสุด ในขณะนี้เอเชียแปซิฟิก คือ ภูมิภาคที่เป็นเป้าหมายในการโจมตีทางอาชญากรรมทางไซเบอร์มากที่สุด1

จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า 79% ของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) ในองค์กรขนาดใหญ่ของเอเชีย จึงมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย (security) ความเป็นส่วนตัว (privacy) ความโปร่งใส (transparency) และกฏระเบียบมาตรฐานของโซลูชั่นระบบคลาวด์2 (compliance) และจากเอกสารเผยแพร่ที่ถูกตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และบริษัทวิจัยตลาด อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอร์เรชั่น คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2014 ผู้บริโภคในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิก อาจใช้เงินมากถึง 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกถึง 40%) ในการระบุตัวตน แก้ไข และ กู้คืนข้อมูล และจัดการกับนักจารกรรมข้อมูลที่มาจากซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย และในรายงานการศึกษาฉบับเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าความเสียหายจากซอฟท์แวร์ผิดกฎหมายและข้อมูลที่สูญหายสามารถทำให้บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 229 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลก 45%) ในปีเดียวกัน

ตัวเลขที่น่าตกใจเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ไมโครซอฟท์ก้าวขึ้นมามีบทบาทในเอเชียมากขึ้น รวมถึงในประเทศไทยด้วย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไมโครซอฟท์ได้พยายามสร้างความแข็งแกร่งและปกป้องแพลตฟอร์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองที่มีมาหลายทศวรรษ แต่สิ่งที่ทำให้ไมโครซอฟท์แตกต่าง คือ ความสามารถในการต่อต้านอาชญากรรมด้านไซเบอร์แบบ “เชิงรุก”

“ไมโครซอฟท์ให้สัญญาว่าเราจะขยายขอบข่ายการต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก เพื่อปกป้องผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ลูกค้าและภาครัฐ ผ่านความร่วมมือการแบ่งปันข่าวกรองด้านภัยคุกคามไซเบอร์กับทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะที่เราเป็นบริษัทที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการแพลตฟอร์มในยุคโมบายและคลาวด์ เรามีความเชื่อมั่นในแอปพลิเคชั่น อุปกรณ์และการให้บริการคลาวด์ที่ไว้วางใจได้ เราต้องการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าและพันธมิตรของเรา โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ความเป็นส่วนตัว การปฎิบัติตามกฎระเบียบและความโปร่งใส ทำให้ลูกค้าที่ใช้งานเทคโนโลยีและบริการด้านคลาวด์ของเรามั่นใจได้ว่า ไมโครซอฟท์มอบบริการเทคโนโลยีที่ไว้วางใจให้กับผู้ใช้งาน” มร. คีชาว์ฟ ดาห์คาด นักกฎหมายอาวุโสและผู้อำนวยการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยอาชญากรรมดิจิทัล ระดับภูมิภาคเอเชีย ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าว

นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การสร้างความไว้วางใจในโลกของดิจิทัลนั้นมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมากเพื่อรับประกันว่าบุคคลและองค์กรจะสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากบุคคลและองค์กรในประเทศไทยนั้น มีการติดต่อกันผ่านอุปกรณ์และระบบสารสนเทศกันมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกอาชญากรด้านไซเบอร์หาผลประโยชน์โดยการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการเงิน หรือข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆ”

Forensics Lab

เพิ่มความปลอดภัยด้านไซเบอร์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า
การเตรียมพร้อมต่อสู้กับอาชญากรรมด้านไซเบอร์และป้องกันภัยจากซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ ทำให้ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความแข็งแกร่งแก่ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์อยู่เสมอ ทำให้ไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น System Center Endpoint Protection ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยและต่อต้านซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายสำหรับองค์กรธุรกิจ และ Windows Defender ที่อัปเดทอยู่เสมอ นี่คือตัวอย่างบางส่วนของความปลอดภัยด้านไซเบอร์ระดับโลกที่ไมโครซอฟท์มอบให้แก่ลูกค้า

ไมโครซอฟท์ยังมีความมุ่งมั่นในการมอบแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานสามารถไว้วางใจได้ นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลและต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะได้รับการพัฒนาด้วยการใช้ Security Development Lifecycle ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาซอฟแวร์สำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่จะช่วยลดจำนวนและความรุนแรงของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแสวงหาผลประโยชน์

Cyber Threat Intelligence Map

ไมโครซอฟท์ยังเน้นย้ำว่าไม่เพียงแต่ผู้จัดการด้านไอทีหรือผู้บริหารด้านสารสนเทศของบริษัทเท่านั้น ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยด้านไซเบอร์ แต่ทุกคนในบริษัท ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างต่างมีความรับผิดชอบในการลดความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในองค์กรเช่นเดียวกัน และก้าวแรกของการไปสู่การสร้างองค์กรที่มีความปลอดภัยด้านไซเบอร์นั้น คือการใช้เทคโนโลยีของแท้และถูกต้อง

ด้วยความเสี่ยงในโลกออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น และเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อภัยด้านไซเบอร์ที่มีให้เห็นบ่อยมากขึ้น อาจทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเกิดความลังเลในคุณภาพและความไว้วางใจ ไมโครซอฟท์มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความไว้วางใจในเทคโนโลยี โดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับสูงสุด

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตร.เข้าค้นคลินิคทำแท้งเถื่อน ลักลอบขายยาออนไลน์ สารภาพมีลูกค้าเดือนละ 50 ราย ขายเพียงเม็ดละ 1200 บาท


18 ต.ค. 60  อนาจาร

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 3 พฤษภาคม พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4บก.ปคบ., พ.ต.ท.จตุรงค์ ผลเกิด รอง ผกก.4 บก.ปคบ. , พ.ต.ต.สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ สว.กก.4 บก.ปคบ.พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ.นำกำลังเข้าทำการตรวจค้นภ

ฝากร้านโดยไม่ได้รับอนุญาติถือว่าผิด มาดูสรุป พ.ร.บ. กัน


28 พ.ค. 60  ฝากร้าน

เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ทางเราได้เอกสารฉบับย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายจึงนำมาให้อ่านกันนะครับ

เทรนด์ไมโครเตรียมพร้อม ป้องกัน และกู้คืนข้อมูลจาก Ransomware ให้คุณ


30 ก.ค. 60  ติดเกมส์

บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้:

“กัสจัง เน็ตไอดอล-แฟนนายแบบ”พบตร. โดนเครือข่าย”ซินแสโชกุน”ตุ๋นทัวร์ญี่ปุ่น ลอยแพเพื่อน30คน


18 ต.ค. 60  เน็ตไอดอล

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 20 เมษายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) น.ส.จีร่าร์ พิทักษ์พรตระกูล หรือกัสจัง เน็ตไอดอล พร้อม นายภูริวัจน์ หรือท๊อป วงศ์วุฒิอิสระ แฟนหนุ่มดีกรีนายแบบเอเชียโมเดล และนายพลชย กุลเบญจสิริ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผบก