พ.ศ.นี้ใครไม่รู้จักการสั่งซื่อของทางออนไลน์คงเชยสะบัด เพราะเดี๋ยวนี้กดสมาร์ทโฟนนิดๆหน่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือที่ทำงาน ไม่กี่วันก็มีของส่งมาถึงหน้าบ้าน ไม่ต้องไปจอแจรถติดที่หน้าห้างให้หงุดหงิดเสียอารมณ์ แต่รู้แล้วก็จะเพลิดเพลินช้อปออนไลน์อย่างเดียวไม่ได้ ส่วนจะเพราะอะไร เป็นความรู้ดีๆจากงาน “สัมมนาผู้บริโภคและรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล” จัดโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต กรุงเทพ
รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การคุ้มครองผู้บริโภคยุค 4.0” ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังนิยมในยุค 4.0 คือการซื้อขายออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อขายบนแอพพลิเคชั่นอย่าง เฟชบุ๊ก อินสตาแกรม และเมสเซนเจอร์ ซึ่งในปี 2559 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ประมาณการมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซอยู่ที่ 2.3 – 2.4 แสนล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2567 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะอยู่ที่ 15% ของตลาดค้าปลีกรวมของประเทศ
พบเจนวายเป็นหนี้บัตรเครดิตเพราะช้อปออนไลน์
รศ.วิทยากล่าวอีกว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ที่น่าสนใจคือ นักช็อปออนไลน์จะเลือกซื้อสินค้าประเภทราคาไม่สูงมากนักที่สามารถรับความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเพราะมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งกลุ่มเจนวายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดซื้อขายออนไลน์ โดยจากข้อมูลรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559 พบว่า เจนวาย เป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนสูงที่สุดถึง 38% ขณะที่กลุ่มเจนเอกซ์และเบบี้บูมอยู่ที่ 23% โดยเหตุผลที่กลุ่มเจนวายนิยมซื้อขายออนไลน์สูงสุดคือ สะดวกสบาย มีบริการส่งถึงบ้าน ตามด้วยมีร้านค้าออนไลน์ให้เลือกซื้อมากขึ้น และราคาถูกกว่าซื้อหน้าร้าน
ทั้งนี้ สำหรับวิธีการชำระเงินพบว่า กลุ่มเจนวายนิยมเลือกการชำระผ่านตู้เอทีเอ็มสูงสุด ตามด้วยธนาคารออนไลน์ และชำระเงินปลายทาง ซึ่งคนเจนเอกซ์และวายเป็นกลุ่มคนที่ต้องจับตาหนี้เสียในทุกประเภทสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายที่มีหนี้เสียจากสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากการจับตาของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
พบ 5 สินค้าเสี่ยงถูกโกง-แนะ 5 วิธีป้องกันโกง
“จากการตรวจสอบพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมักถูกโกงบนออนไลน์ ได้แก่ เสื้อผ้า-รองเท้า โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าแบรนเนมมือสอง ตั๋วคอนเสิร์ตนักร้องเกาหลี ผมจึงมี 5 วิธีในการป้องกันเมื่อถูกโกงออนไลน์ ดังนี้ 1.เก็บรวบรวมหลักฐานโดยเร็วที่สุดทั้งภาพสนทนา ภาพหน้าร้าน หลักฐานการชำระเงิน 2.นำหลักฐานไปแจ้งความโดยเร็วที่สุด เพราะอายุความมีระยะเวลาเพียง 3 เดือน นับจากเกิดเหตุ”
“3.สแกนใบแจ้งความเพื่อขอ IP Address กับผู้ให้บริการเว็บไซต์ 4.นำหมายเลข IP ที่ได้มาพร้อมทั้งใบแจ้งความยื่นไปทาง ISP ของคนที่โกงเงินใช้อยู่เพื่อสืบหาที่อยู่ และ 5.นำที่อยู่นั้นส่งให้ตำรวจเพื่อจับกุมตัว พร้อมกับแจ้งกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อปิดเว็บไซต์” รศ.วิทยากล่าวและว่า
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโกง ก่อนซื้อทุกครั้งควรตรวจสอบประวัติผู้ขาย ทั้งชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้กระทั้ง Username ชื่อร้านค้าของคนขายมาลองเสิร์ชหาใน Google หรือค้นหาตัวตนคนขายจากเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตนได้ เช่น peekyou.com และ socialmention.com เพื่อค้นหาข้อมูลของผู้ขาย ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ทั้งหมด
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี) เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจากับ Facebook (เฟซบุ๊ก) ว่า ช่วงเย็นของวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊ก ได้ติดต่อกลับมาภายหลังทางสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(สมาคมไอเอสพี) ภายหลังก่อนหน้านี้ทางสมาคมไอ
พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.(แฟ้มภาพ) เมื่อเวลา 12.30น.วันที่ 28มีนาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการ บ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นำครอบครัว น.ส.หทัยชนก กลิ่นทอง หรือน้อ
ที่ประชุมกสทช. เมื่อวานนี้ มีมติให้บริการ OTT หรือ Over the Top เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลของกสท. โดยให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ควบคุม และดูแลคอนเทนท์ออนไลน์ แต่ยังไม่สรุปว่า Facebook Live, YouTube และอื่นๆ จะเข้าข่าย OTT หรือไม่
การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้