‘พิสิษฐ์’ ยันสื่อต้องมีใบอนุญาต ใครไม่มีจำคุก เพจดัง-ข่าวออนไลน์ ถ้ามีรายได้ ถือเป็นสื่อหมด
18 ต.ค. 60 รัฐ/กฎหมาย 2375

“พิสิษฐ์” ยัน สื่อต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ไม่ต่างจากนวดแผนโบราณถ้า ชี้ ใครไม่มีก็ต้องจำคุกเหมือนกัน ยก เว็บ sanook – kapook เข้าข่ายสื่อออนไลน์ภายใต้กม.คุ้มครองสื่อ

เมื่อวันที่ 26 เมษายน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)เปิดเผยว่า จะนำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….. เข้าสู่การพิจารณาของวิปสปท.คาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ สปท. ในวันที่ 8-9 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาคือเรื่องโทษ กรณีหากนักข่าวไม่ไม่มีใบอนุญาต ตามเวลาที่กำหนดจะมีความผิด จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท รวมถึงองค์กรสื่อที่รับนักข่าวที่มีมีใบอนุญาตมาทำงานก็จะมีความผิดจำคุกและปรับเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ยังเป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้นักข่าวที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตและถูกไล่ออกจากที่หนึ่งไปทำงานกับอีกที่หนึ่ง

“เรื่องโทษที่เพิ่มขึ้นมานี้เจตนารมณ์ไม่ต้องการลงโทษใคร แต่มองเรื่องการบังคับว่าคุณต้องไปขอรับใบอนุญาต เรามานั่งคิดกันว่าหากคนที่ไม่ยอมขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตจะทำอย่างไร เราก็ไปเทียบเคียงกับกฎหมายที่มีอยู่ ขนาดนวดแผนโบราณไม่มีใบอนุญาตยังมีโทษจำคุกสองปีเบากว่าคุณอีก สื่อเวลาไปทำอะไรเสียหายทีผลกระทบวงกว้างกว่าเยอะ เรื่องใบอนุญาตสื่อนั้น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีความชัดเจน แต่จะมีประเด็นตรงสื่อออนไลน์ ซึ่งเราขีดวงจำกัดว่าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อออนไลน์นั้น ต้องมีเจตนา ทำต่อเนื่อง และมีรายได้ทั้งทางตรงทางอ้อมหรือไม่ ตรงนี้ทางสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติจะเป็นคนกำหนดรายละเอียด เราแค่วางกรอบคร่าวๆ ” พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าว

เมื่อถามว่า บางเว็บเพจดังอย่าง Drama-addict ที่ยังก้ำกึ่งว่าเข้าข่ายสื่อออนไลน์จะต้องขึ้นทะเบียนด้วยหรือไม่ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าว่า ต้องดูเจตนารมณ์ การทำงาน และดูว่ามีรายได้จากที่ทำทั้งทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ ถ้ามีก็เข้าข่ายหมด อย่างเว็บไซต์ sanook kapook หรือข่าวทางไลน์ ที่มีรายได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ถือว่าเข้าข่าย ซึ่งเราเขียนให้ครอบคลุมทั้งหมดไม่ได้ ต้องไปดูในอนาคตว่าจะทำกันอย่างไร

เมื่อถามว่าสื่อมวลชนออกมาคัดค้านร่างพ.ร.บ.นี้อย่างหนักจะมีการทบทวนเนื้อหาหรือไม่ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า 30 องค์กรสื่อไม่เอากับเราอยู่แล้ว สภาฯ ก็ไม่เอา ใบอนุญาตก็ไม่เอา รัฐธรรมนูญก็ให้สิทธิร่าง พ.ร.บ.นี้ ก็แค่เป็นกรอบจริยธรรม ซึ่งคนที่กำหนดก็คือสื่อ ตัวแทนภาครัฐ ประชาชน หากให้สื่อเขียนอย่างเดียวก็อาจเขียนเข้าข้างตัวเองไป สิ่งที่กังวลเราก็เอามาพิจารณา ไม่ใช่ไม่ฟัง เราก็ปรับ แต่หนึ่งหลักการต้องมีสภา สองใบอนุญาต ส่วนที่ไม่เอาใบอนุญาตก็ต้องถามกลับว่า ทำไมใบอนุญาตอาชีพอื่นต้องมี สื่อต่างจากอาชีพอื่นตรงไหน เราไม่ได้ว่าของเราถูกต้องทั้งหมด ยังต้องรับฟังคนอื่น ต้องผ่าน ครม. กฤษฎีกา สนช. และทำประชาพิจารณ์ตามาตรา 77 สุดท้ายไม่รู้ว่าจะเหลือเหมือนเดิมถึงครึ่งหรือไม่

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

บริษัทไทยฟ้อง Jack Ma และ Alibaba ฐานละเมิดสิทธิบัตรลูกบอลดับเพลิง


05 เม.ย. 60  โฆษณา

แฟนๆ เว็บแบไต๋หลายคนอาจจะรู้จักเจ้าลูกบอลดับเพลิง Elide Fire Extinguishing Ball ที่แค่โยนเข้ากองเพลิงก็จะระเบิดออก และดับไฟในบริเวณนั้นได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้รับสิทธิบัตรทั้งในไทย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตลูกบอลดับเพลิงกำลังฟ้องร้องอาลีบาบา และแจ็ค หม่า ในประเด็นละเมิดสิทธิบัตรและจำหน่ายลูกบอลดับเพลิงปลอมครับ

บุกจับพ่อค้าบารากู่-น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ขณะกดรหัสลับหน้าประตู เผยขายออนไลน์ มีวงจรปิดส่องคนเข้าออกรัดกุม


18 ต.ค. 60  ยาเสพย์ติด

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 พล.ต.ต. ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ สคบ นำโดย. พ.ต.อ ประทีป เจริญกัลป์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฯ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย ร.ต.นิมิต จ

Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว


16 ส.ค. 60  ฝากร้าน

"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 60" บังคับใช้วันนี้!! สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอิเลคทรอนิกส์

ผลวิจัย Path to Purchase เผยคนไทย 9 ใน 10 ตัดสินใจเลือกแบรนด์ล่วงหน้าก่อนไปซื้อที่ร้าน


28 มิ.ย. 60  ช้อปปิ้งออนไลน์

“Think Telco” Google ได้นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคไทยในยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ นำเสนอเรื่องราวในหลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เฉพาะในปี 2559 มีโทรศัพท์มือถือถูกจำหน่ายออกไปกว่า 14.8 ล้านเครื่อง1  แต่คนไทยมีวิธีการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือและแพ็คเกจการใช้งานอย่างไรบ้าง?