แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี) เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจากับ Facebook (เฟซบุ๊ก) ว่า ช่วงเย็นของวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊ก ได้ติดต่อกลับมาภายหลังทางสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(สมาคมไอเอสพี) ภายหลังก่อนหน้านี้ทางสมาคมไอเอส ขอความร่วมมือให้เฟซบุ๊กดำเนินการปิด URL ที่เข้าข่ายเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ตามคำสั่งศาล จำนวน 600 URL โดยล่าสุดทางเฟซบุ๊ก ได้ชี้แจงมายังไอเอสพี และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ระบุว่าพร้อมดำเนินการระงับการเผยแพร่เว็บบุคคลและเว็บเพจที่เข้าข่ายผิดกฎหมายตามคำสั่งศาลไทยทั้ง 600 URL ซึ่งหลังจากนี้จะทยอยดำเนินการโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เฟซบุ๊ก ยอมดำเนินการ เนื่องจากทางไอเอสพี ได้แจ้งไปว่าหากทางเฟซบุ๊ก ไม่ร่วมมือ ทางไอเอส อาจจำเป็นต้องปิดระบบ CDN( ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของเครื่องเซิฟเวอร์) ซึ่งเป็นเสมือนถึงเก็บข้อมูลของ Facebook ในประเทศไทย เพราะหากระบบดังกล่าวปิดลง จะทำให้การเรียกใช้งานข้อมูลของเฟซบุ๊ก แต่ละครั้ง ระบบต้องเรียกข้อมูลวิ่งไปกลับผ่านเกตเวย์ต่างประเทศ รวมถึงจะใช้ปริมาณของช่องทางการสื่อสาร(แบนวิธ) มากกว่า 5 เท่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเฟซบุ๊ก คือ ผู้ใช้งานจะรู้สึกว่าความเร็วในการใช้งานลดลงอย่างมาก ไปจนถึงปัญหาการธุรกิจต่างๆ และการโฆษณาก็จะตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เฟซบุ๊ก ยังรู้ว่ามาตรการสุดท้ายหากไม่ปฏิบัติตามก็คือการสั่งปิดการใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศไทย
เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ทางเราได้เอกสารฉบับย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายจึงนำมาให้อ่านกันนะครับ
วันที่ 3 มีนาคม เวลา 12.00 น. พ.ต.อ.อุกกฤษฎ์ ทรงชัยสงวน ผกก.สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ก้องเกียรติ เฟื้องทอง รักษาราชการ รอง ผกก.(ป.) สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ประสิทธิ มิรัตนไพร รอง ผกก.สืบสวน พ.ต.ท.โดมฤทธิ์ ศรีพินเพราะ สว.สส. ร.ต.อ.ศักดิ์ศรี ศรีพั่ว พนักงานสอบสวน
เมื่อเวลา 15.00น.วันที่ 7 พ.ค. ที่กองบังคับการปราบอาชญกรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายสุระ ธีระกล หรือนิกกี้พริ้ม อดีตนักเเสดง ที่ทำรายการสดในเฟซบุ๊กของตน พาผู้หญิงมานั่งพูดคุย พร้อมถามถึงท่าทางการมีเพศสัมพันธ์และให้แสดงท่าทางประกอบ จากนั้นก็ให้ถอดเสื้อผ้าท
ธนาคารกรุงศรีนับเป็นธนาคารแรกของไทยที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้พัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (ภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox) โดยกรุงศรีนับเป็นธนาคารแรกของไทยที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain ‘s Interledger มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรวดเร็วในการโอนเงินข้ามประเทศแบบ Real Time สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม