เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม นางอัฉราภรณ์ จันทราทิตย์ อายุ 56 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสมุทรปราการ จับกุมตามหมายจับของศาล จ.สมุทรปราการ ในข้อหาฉ้อโกง โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นขายของออนไลน์ผ่านแอพพ์ Instagram โดยมี น.ส.กรกนก ทุมมากรณ์ อายุ 18 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายถูกหลอกโอนเงินกว่า 3 แสนบาทเป็นค่าซื้อกล้องฟรุ้งฟริ้ง เป็นผู้ติดตามพฤติกรรมและรวบรวมหลักฐานที่เป็นประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทั่งสามารถติดตามจับกุมได้
นอกจากนี้จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทราบว่าเมื่อปี 2558 นางอัฉราภรณ์ได้ใช้กลอุบายหลอกพระสงฆ์รูปหนึ่งทางภาคเหนือว่าวัดมีสภาพทรุดโทรมมากและจะช่วยหาคนมาบริจาคเพื่อทำนุบำรุงวัด ก่อนจะขอบัญชีธนาคารและบัตรประชาชนของพระรูปนั้นไปใช้ในการหลอกขายของออนไลน์และอื่นๆ จนมีผู้เสียหายแล้วกว่า 20 ราย ค่าเสียหายหลายล้านบาท
ด้าน น.ส.กรกนกเปิดเผยว่า เมื่อประมาณเดือนกันยายน ตนพบอินสตาแกรมของผู้ต้องหาประกาศขายกล้องฟรุ้งฟริ้งรุ่นใหม่ล่าสุด ในราคาที่ไม่แพงมากนัก พอที่จะทำกำไรได้หากซื้อไปขายต่อ จึงได้สั่งกล้องจากผู้เสียหายไปกว่า 20 ตัว โดยทยอยโอนเงินทั้งหมด 11 ครั้ง รวม 302,000 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องส่งของ ผู้ต้องหากลับปิดโทรศัพท์ ติดต่อไม่ได้ ตนจึงมั่นใจว่าโดนโกงแน่ๆ จึงเดินทางเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะเดียวกันได้สืบหาหลักฐานทางออนไลน์เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทั่งได้ภาพวงจรปิดที่ 2 แม่ลูกไปกดเงินที่ตู้ ATM พร้อมกัน และถูกจับกุมในที่สุด
เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบปากคำผู้ต้องหา แต่ยังให้การวกวน พยายามบ่ายเบี่ยงและขอใช้ค่าเสียหายให้กับทางผู้เสียหายด้วย แต่เนื่องจากมีผู้เสียหายจำนวนมาก บางรายอยู่ระหว่างเดินทางชี้ตัวผู้ต้องหาที่ สภ.เมืองสมุทรปราการ ทางเจ้าหน้าที่จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เคยถูกหลอกลวงดูตัวผู้ต้องได้ที่ สภ.เมืองสมุทรปราการ
"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 60" บังคับใช้วันนี้!! สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอิเลคทรอนิกส์
วันที่ 13 มกราคม 2560 พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (ผบก.สปพ.) พ.ต.อ.นิธิธร จินตกานนต์ รองผบก.ทท. พ.ต.อ.จักรเพชร เพชรพลอยนิล ผกก.สายตรวจ บก.สปพ. พ.ต.อ.ศราวุธ ตันกุล ผกก.2 บก.ทท. นำกำลังตำรวจ สปพ. ตำรวจท่องเที่ยว และ สภ.เมือง
หลายครั้งที่เราได้ยินเรื่องราวของ “ภัยจากโลกออนไลน์” เช่น การขโมยหรือล่อลวงเงินในบัญชีผ่านการสนทนาทาง Facebook (เฟซบุ๊ก) หรือ การแฮกเข้าบัญชีส่วนตัว Facebook (เฟซบุ๊ก) แล้วสวมรอยเป็นเราทำทีเป็นขอยืมเงินเพื่อนหรือคนใกล้ชิดของเราให้โอนเงินไปยังบัญชีปลายทางของคนร้าย ซึ่งก็มีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย และเหล่ามิจฉาชีพพวกนี้ก็ยังคงออกอาละวาด สร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของทรัพย์สินและผู้ที่ถูกสวมรอยเป็นอย่างมาก โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดีได้ (เฮ้อ!!)
ภาพกราฟิกลิขสิทธิ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 เว็บไชต์ราชกิจนุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามที่มาตรา 7แห่งพระราช