“FireEye” ชี้องค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงกว่าองค์กรอื่นทั่วโลก!!
19 ต.ค. 60 ภัยคุกคามออนไลน์ 1086

“FireEye” ชี้องค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงกว่าองค์กรอื่นทั่วโลก!!

“FireEye” ชี้องค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงกว่าองค์กรอื่นทั่วโลก!!

19 พฤษภาคม 2559 – ไฟร์อาย อินคอร์เปอเรชั่น (NASDAQ : FEYE) ผู้นำด้านการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ขั้นสูงในปัจจุบันเผยถึงผลสำรวจว่า กว่า 43% ขององค์กรในประเทศไทยตกเป็นเป้าของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 ซึ่งอัตราดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่สูงเกือบ 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 15%)

ไฟร์อาย (FireEye) พบว่ามีกลุ่มผู้จู่โจมขั้นสูงหลายกลุ่มที่พุ่งเป้ามาที่องค์กรในประเทศไทยนายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไฟร์อาย กล่าวว่า “ช่องว่างของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในประเทศไทยเป็นปัญหาเร่งด่วนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ องค์กรต่างๆ ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้จู่โจมไซเบอร์ขั้นสูง ด้วยความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์การเมืองที่สูงขึ้นในภูมิภาคนี้ การเข้าใจและยอมรับว่าโลกไซเบอร์ทุกวันนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ”

มาร์แชล เฮลแมน รองประธานและผู้บริหารระดับสูงฝ่ายปฏิบัติการเรดทีมและหน่วยรับมือแบบฉุกเฉิน บริษัท ไฟร์อาย กล่าวว่า “เมื่อองค์กรไทยตกเป็นเหยื่อของการจู่โจมทางไซเบอร์ขั้นสูง ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบมากมาย รวมถึงการปฏิบัติงานที่ต้องหยุดชะงัก การสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายทางภาพลักษณ์ และคดีความต่างๆ และเพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรไม่เพียงนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจจับและรับมือกับการจู่โจมทางไซเบอร์ต่างๆ แต่องค์กรต่างๆ  ยังต้องนำความเชี่ยวชาญภายในและภายนอกมาใช้ควบคู่กับองค์ความรู้และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการโจมตี”

จากข้อมูลเชิงลึกด้านการโจมตีทางไซเบอร์ของไฟร์อาย ประเทศต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการจารกรรมไซเบอร์จากผู้จู่โจมที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้จู่โจมเหล่านี้ต้องการสืบค้นข้อมูลที่สามารถนำมาสนับสนุนวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่พวกเขาได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าวผลการเลือกตั้งในประเทศที่ตกเป็นเป้า การประเมินความมั่นคงภายในประเทศ และการได้มาของข้อมูลเชิงลึกที่อาจสามารถนำไปสู่การแก้ไขนโยบายได้ในอนาคต โดยข้อมูลต่างๆ นั้นชี้ถึงนโยบายต่างๆ การเข้าถึงผู้นำใหม่ และการป้องกันภัยที่มีผลต่อความปลอดภัย และประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่กลุ่มต่างๆ ได้คาดการณ์ไว้หรือล่วงรู้อยู่แล้ว ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายหลักของการจู่โจมจึงประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและการทหารของประเทศเป้าหมาย สื่อ องค์กรภาคประชาสังคม นักการเมือง ผู้สร้างนโยบาย และกลุ่มพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไฟร์อายพบว่า ถูกจู่โจมในรูปแบบของ APT เป็นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 ได้แก่ หน่วยงานของรัฐบาลกลาง (นับเป็น 45% ขององค์กรทั้งหมดที่ถูกจู่โจม) ภาคบันเทิง สื่อ และการบริการด้านโรงแรม (38%) เทคโนโลยี (33%) การผลิต (29%) พลังงานและสาธารณูปโภค (29%) หน่วยงานของรัฐในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น (28%) งานบริการ/ที่ปรึกษา (25%) และ งานบริการด้านการเงิน (20%)

ในปีที่แล้ว ไฟร์อาย (FireEye) ได้เปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับฐานผู้ก่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศจีนที่มีส่วนในแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและกระทำการมากว่า 10 ปีนั้น โดยการปฏิบัติการดังกล่าวเน้นเป้าหมายสำคัญ เช่น รัฐบาล ธุรกิจ และนักข่าว ที่มีข้อมูลสำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ไฟร์อายยืนยันว่ากลุ่มดังกล่าว ภายใต้ชื่อ APT 30 มีเป้าหมายในประเทศไทยเช่นกัน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ปิดฉากโจ๋ติดเกมส์ ตระเวนลักทรัพย์ทั่วเมืองนครพนม พบ 5 ปีก่อนเคยถูกจับคดีวิ่งราว


18 ต.ค. 60  ติดเกมส์

วันที่ 3 มีนาคม เวลา 12.00 น. พ.ต.อ.อุกกฤษฎ์ ทรงชัยสงวน ผกก.สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ก้องเกียรติ เฟื้องทอง รักษาราชการ รอง ผกก.(ป.) สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ประสิทธิ มิรัตนไพร รอง ผกก.สืบสวน พ.ต.ท.โดมฤทธิ์ ศรีพินเพราะ สว.สส. ร.ต.อ.ศักดิ์ศรี ศรีพั่ว พนักงานสอบสวน

‘พิสิษฐ์’ ยันสื่อต้องมีใบอนุญาต ใครไม่มีจำคุก เพจดัง-ข่าวออนไลน์ ถ้ามีรายได้ ถือเป็นสื่อหมด


18 ต.ค. 60  รัฐ/กฎหมาย

“พิสิษฐ์” ยัน สื่อต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ไม่ต่างจากนวดแผนโบราณถ้า ชี้ ใครไม่มีก็ต้องจำคุกเหมือนกัน ยก เว็บ sanook – kapook เข้าข่ายสื่อออนไลน์ภายใต้กม.คุ้มครองสื่อ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.)

อึ้ง!! เว็บขายสินค้าออนไลน์ชื่อดัง ใช้นางแบบใส่จีสตริงบางแนบเนื้อ ผู้ปกครองร้องตรวจสอบ


18 ต.ค. 60  อนาจาร

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม “มติชนออนไลน์”ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองนักเรียนจำนวนหนึ่งว่าในเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดังในเมืองไทย ที่มีการขายสินค้าจำนวนมาก ปรากฎว่าในกลุ่มสินค้าชุดชั้นในผู้หญิง มีการใช้ภาพนางแบบที่เข้าข่ายล่อแหลม เนื่องจากมีการใส่ชุดนั้นใน

ฟังความเห็น ผู้เชี่ยวชาญ ได้เวลา เก็บภาษีอีคอมเมิร์ซ และเน็ตไอดอล หรือยัง ?


18 ต.ค. 60  เน็ตไอดอล

มติชน สมาร์ทบิซ วันที่ 28 ก.ย.2559 ตัวเลข ล่าสุด ระบุว่า มูลค่าการค้า อีคอมเมิร์ซ ของไทย พุ่งสูงไปกว่า 2.24 ล้านล้าน พร้อมๆ กับมีข่าว ก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาล เตรียม เก็บภาษี อีคอมเมิร์ซ และ เน็ต ไอดอล มุมมอง และ ผลกระทบ จะเป็นอย่างไร? ไปฟังทัศนะทางกฎหมา