เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) น.ส.ธนัทธรณ์ ตะนาวสินรังสี หรือนินท์ ประกอบธุรกิจส่วนตัว พร้อมกลุ่มผู้เสียหายเจ้าของหรือตัวแทนแบรนด์สินค้าต่างๆ กว่า 20 แบรนด์ เข้าพบ พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบก.ป. พ.ต.อ.ชาคริต สวัสดี พ.ต.อ.สมควร พึ่งทรัพย์ พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี น.ส.อรอุมา กุลนาค หรือมด กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท บีเอ็มพี (ประเทศไทย) จำกัด ในความผิดฉ้อโกงประชาชน โดยทำหนังสือร้องทุกข์และนำเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวว่า ได้รู้จักบริษัทดังกล่าวผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 ดำเนินธุรกิจรับสร้างแบรนด์และโปรโมตสินค้า เพื่อเสนอขายไปยังตลาดในประเทศจีน ต่อมาทราบว่าบริษัทแห่งนี้ได้จัดทำโครงการ “50 ไชนิสเน็ตไอดอล อะเมซิ่ง ไลฟ์อินไทยแลนด์ 2016” ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเน็ตไอดอลชื่อดังในประเทศจีนที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน มาช่วยโปรโมตสินค้าให้กับประกอบการชาวไทย โดยเน็ตไอดอลจะมีการพูดโปรโมตสินค้าให้เป็นเวลา 30 นาที ผ่านช่องทางถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์เทาเป่า “Taobao Live” ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ยอดนิยมในประเทศจีน พร้อมกับการันตีว่าหากเข้าร่วมโครงการแล้วจะมีลูกค้าในประเทศจีนมาสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมโครงการจะถูกคิดค่าใช้จ่ายเป็นยูนิต ยูนิตละ 75,900 บาท โดยทุก 1 ยูนิต จะมีการจัดหาเน็ตไอดอล 1 คน เพื่อโปรโมตสินค้าให้
น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวต่อว่า เมื่อรู้สึกสนใจเพราะอยากขยายตลาดแบรนด์สินค้าในประเทศจีน จึงสมัครซื้อยูนิตไป แต่ภายหลังกลับปรากฏว่าเน็ตไอดอลที่กล่าวอ้างนั้นไม่ได้มีชื่อเสียงหรือผู้ติดตามเป็นหลักล้าน โดยมีผู้ติดตามแค่หลักพันถึงหลักหมื่นคน ส่วนการพูดโปรโมตสินค้าก็ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ที่สำคัญหลังจากโปรโมตสินค้า ยอดขายก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กล่าวอ้าง
น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวอีกว่า การดำเนินการอีกหลายอย่างโครงการไม่ตรงตามที่ระบุไว้ เช่น กรณีที่อ้างว่าจะลงโฆษณาสินค้าให้ในเว็บไซต์ ก็ไม่มีการลงโฆษณา, การรายงานการสั่งซื้อสินค้าของผู้ประกอบการก็ไม่มีการดำเนินการ หรือแม้แต่การดูแลด้านการตลาดให้ตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยขณะนี้พบว่ามีผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ กว่า 20 แบรนด์ ที่หลงเชื่อจ่ายเงินซื้อยูนิตเพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจนได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท
ผู้เสียหายรายนี้กล่าวว่า ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับตัวของเจ้าของบริษัทดังกล่าวนั้น พบว่ามีการสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกหนังสือ “ปล้นคนจีน” อ้างว่าเป็นเจ้าของโรงงานผลิตขนตาปลอมเจ้าเดียวในประเทศไทย เคยอาศัยในประเทศจีนมานานกว่า 10 ปี รวมถึงการอ้างถึงบริษัทและสถาบันการเงินชื่อดัง ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วย การกระทำดังกล่าวจึงน่าจะมีเจตนาที่จะหลอกลวงผู้เสียหายมาแต่แรก พวกตนจึงรวมตัวกันเข้าแจ้งความในครั้งนี้
ด้าน พล.ต.ต.สุทินกล่าวว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องไว้โดยมอบหมายให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ร้องทุกข์และรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนพิจารณาดำเนินคดีต่อไป
มติชน สมาร์ทบิซ วันที่ 28 ก.ย.2559 ตัวเลข ล่าสุด ระบุว่า มูลค่าการค้า อีคอมเมิร์ซ ของไทย พุ่งสูงไปกว่า 2.24 ล้านล้าน พร้อมๆ กับมีข่าว ก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาล เตรียม เก็บภาษี อีคอมเมิร์ซ และ เน็ต ไอดอล มุมมอง และ ผลกระทบ จะเป็นอย่างไร? ไปฟังทัศนะทางกฎหมา
“Think Telco” Google ได้นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคไทยในยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ นำเสนอเรื่องราวในหลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เฉพาะในปี 2559 มีโทรศัพท์มือถือถูกจำหน่ายออกไปกว่า 14.8 ล้านเครื่อง1 แต่คนไทยมีวิธีการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือและแพ็คเกจการใช้งานอย่างไรบ้าง?
เมื่อวันพฤหัสที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานเสวนาในครั้งที่ 2 ขึ้นมา ซึ่งครั้งนี้เป็นหัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยมจนเรียกได้ว่าเป็นระดับ Distruptive แห่งชาติ กับเรื่อง
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) น.ส.รุ่งนภา (แอน) ระเบียบ อายุ 25 ปี ชาวจ.ระนอง เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.สมบัติ สมบัติโยธา รอง สว.สอบสวน กก.3บก.ปอท. เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจแ